สิ่งที่น่าสนใจ :
ตัวผู้มีงาเรียกว่า “ช้างพลาย” แต่บางตัวไม่มีงาเรียก “ช้างสีดอ” ตัวเมียปกติไม่มีงาเรียก “ช้างพัง” แต่บางตัวอาจมีงาสั้น ๆ เรียกงาสั้นๆ นี้ว่า “ขนาย” หนังบริเวณลำตัวหนาราว 1.9-3.2 เซนติเมตร เป็นสัตว์กระเพาะเดียว มีฟัน 26 ซี่
ถิ่นอาศัย :
ช้างเอเชียพบในเนปาล บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สุมาตรา
อาหาร :
ไผ่ หญ้าพันธุ์ลำต้นสูง เถาวัลย์ และพืชลัมลุกตามพื้นดิน
พฤติกรรม :
อยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ละฝูงจะมีตัวเมียเป็นจ่าฝูง เรียกว่า “แม่แปรก” ส่วนใหญ่ช้างออกหากินในเวลากลางคืน โดยจ่าฝูงจะเป็นผู้นำฝูงในการออกหากิน หาแหล่งน้ำหรือนำฝูงหนีศัตรู ช้างเป็นสัตว์ที่กินอาหารจุมาก ในขณะที่ช้างยังตื่นอยู่จะกินอาหารเกือบตลอดเวลา
สถานภาพปัจจุบัน :
สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์
อื่นๆ :
ช้างเป็นสัตว์ป่าชนิดแรกของไทยที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ช้างมีภัยคุกคามต่างๆ ได้แก่ การฆ่าช้างเพื่อเอางา ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง การสูญเสียถิ่นอาศัย สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
อนุกรมวิธาน
CLASS : Mammalia
ORDER : Proboscidea
FAMILY : Elephantidae
GENUS : Elephas
SPECIES : Elephas maximus
SUBSPECIES : Elephas maximus indicus
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : ใกล้สูญพันธุ์ ENDANGERED
อายุเฉลี่ย :
อายุยืนประมาณ 40-78 ปี
วัยเจริญพันธุ์ :
ช้างเอเชียผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุได้ 8 -12 ปี ตั้งท้องนาน 19 -21 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
ขนาดและน้ำหนัก :
น้ำหนักประมาณ 3-4 ตัน