ช้างคู่พระบารมี เป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีให้แก่พระมหากษัตริย์ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสานา เป็นผู้ปกป้องเอกราชเคียงคู่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและกษัตริย์ในหลายยุคสมัย และถูกใช้ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ รวมถึงเป็นยานพาหนะในสมัยก่อนที่ทรงพละกำลังและเฉลียวฉลาด จึงถือว่า ช้าง เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทย มานานตั้งแต่จำความได้
โดยช้างที่จะมาเป็นช้างคู่บารมีได้ จะต้องมีงา ขนรอบตัว ขนที่หาง เล็บ เพดานปาก ผิว และอัณฑโกศ เป็นสีขาว จึงจะเป็นช้างมงคลสมพระเกียรติ หรือที่เรียกกันว่า ช้างเผือก ซึ่งมีการแบ่งช้างเผือกเป็น 3 ชั้น คือ ช้างเผือกเอก ช้างเผือกโท และช้างเผือกตรี
ส่วนช้างเผือกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 นั้น มีช้างเผือกทั้งสิ้น 10 เชือก ดังนี้
1. พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ชื่อเดิมคือ พลายแก้ว เป็นช้างพลายโท

2. พระเศวตวรรัตรกรีฯ เป็นช้างพลายเผือกลูกบ้าน

3. พระเศวตสุรคชาธารฯ ชื่อเดิมคือ เป็นช้างพลายเผือก ที่พลัดหลงมา

4. พระเศวตศุทธวิลาศฯ ชื่อเดิมคือ พลายบุญรอด เป็นช้างพลายเผือก (สีดอ)

5. พระเศวตภาสุรคเชนทร์ฯ ชื่อเดิมคือ ภาศรี เป็นช้างพลายลูกเถื่อน

6. พระศรีเศวตศุภลักษณ์ฯ ชื่อเดิมคือ เจ้าแต๋น เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน

7. พระวิมลรัตนกิริณีฯ ชื่อเดิมคือ ขจร เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน

8. พระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ ชื่อเดิมคือ จิตรา เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน

9. พระเทพวัชรกิริณีฯ ชื่อเดิมคือ ขวัญตา เป็นช้างพังเผือกลูกเถื่อน

10. พระบรมนขทัศฯ ชื่อเดิมคือ ดาวรุ่ง เป็นช้างพลายเผือกลูกเถื่อน
